ระเบียบข้อบังคับ
ชมรมรักษ์ ฯ สุขภาพบ้านบูเกะตา
(มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข)
หมวดที่ 1
เครื่องหมาย และสถานที่ตั้ง
ข้อ 1. ชมรมนี้มีชื่อว่า ชมรมรักษ์ ฯ สุขภาพบ้านบูเกะตา มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข
1.1 ชื่อ ชร.สต.
ข้อ 2. เครื่องหมายชมรม คือ รูปแบบวงกลม มี 2 ชั้น ชั้นแรกภายในวงกลมสีเหลืองวงใหญ่ ชื่อ ชมรมรักษ์สุขภาพบ้านบูเกะตา สีน้ำเงิน ใต้วงกลม ชื่อมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข ภายใต้มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข วงกลมชั้นใน เส้นเล็ก ปรากฏชื่อ ชมรมเป็นภาษายาวี อักษรยาวี ปัรซาตูวัน ยาฆอ กือซีฮัตัน บาดัน กำปง บูเกะตา อักษรย่อ ชร.สต. และเส้นการเต้นของหัวใจ หัวใจสีแดง มีต้นตาลโตนด เป็นสัญลักษณ์ ของชุมชนบูเกะตา
ข้อ 3. สถานที่ตั้ง สำนักงานมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข 44/9 หมู่ที่ 2 ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ไปรษณีย์ 96160 เบอร์โทร 073-530560
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์ของชมรม
ข้อ 4. วัตถุประสงค์ของชมรม
4.1. เพื่อส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อออกกำลังกายร่วมกัน ในเวลาอันเหมาะและควร
4.2. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อกำหนดทิศทางในการดูแลรักษาสุขภาพที่หลากหลายเสริมสร้างในการดูแลรักษาสุขภาพและสร้างภูมคุ้มกัน ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
4.3. เพื่อเป็นต้นแบบของสังคมในการดูแลสุขภาพ และการช่วยเหลือ แบ่งปั่นสังคมในบางโอกาส
4.4. ส่งเสริมให้สมาชิกออกกำลังกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์อย่างสม่ำเสมอ
4.5. ส่งเสริมให้สมาชิกชมรมเลือกซื้อและบริโภค อาหาร ที่สะอาดมีคุณค่า และปลอดสารปนเปื้อน
4.6. ส่งเสริมให้สมาชิกชมรมสร้าง อนามัย สิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อความสะอาดปลอดภัยของที่อยู่อาศัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ ส่งเสริมให้สมาชิกชมรมมี อารมณ์ ที่ดี
4.7. ส่งเสริมให้สมาชิกปลอดโรค อโรคยา โดยเฉพาะโรคที่ทำให้สมาชิกเสียชีวิตในลำดับแรกๆ คือ มะเร็ง หัวใจ เบาหวาน
4.8. ส่งเสริมให้ประชาชน ลด ละ เลิก อบายมุข เพื่อลดปัญหาสุขภาพที่เกิดจาก บุหรี่ สุรา สารเสพติดและการพนันในชุมชน
ข้อ 5. สมาชิก
5.1 ประชาชนทั่วไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ เขตหมู่ที่ 2 3 4 5 ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส อายุ 18 ปี ขึ้นไป
5.2 บุคคลทั่วไปที่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรม ในการดูแลสุขภาพ และการช่วยเหลือ แบ่งปั่นสังคม ผู้ยากไร้
ข้อ 6. เรื่องการรับสมัครสมาชิก
6.1 บุคคลตาม ข้อ 5.1 ต้องสมัครเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ
6.2 ต้องกรอกใบสมัครตามแบบของชมรมเพื่อส่งใบสมัครต่อฝ่ายทะเบียนรับสมัคร
หมวดที่ 3
เรื่องสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 7. สมาชิกทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ต้องมีการออกกำลังเพื่อรักษาสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ข้อ 8. ต้องสมัครเป็นสมาชิก ค่าบำรุงสมาชิก 20 บาทตลอดชีวิต
ข้อ 9. สมาชิกมีสิทธิเสนอแนะ แสดงความคิดเห็น การดำเนินการของชมรม ตลอดจนสอบถามกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรม
ข้อ 10. สมาชิกต้องเข้าร่วมและช่วยเหลือกิจกรรมตามที่ชมรมมอบหมาย
ข้อ 11. สมาชิกต้องรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของชมรม
ข้อ 12. สมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมตามกำหนดนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ ยกเว้นกรณีเจ็บป่วย หรือติดธุระจำเป็นทั้งนี้ต้องแจ้งประธาน ทราบ
ข้อ 13. สมาชิกมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบังคับ และระเบียบของชมรม
ข้อ 14. สมาชิกมีหน้าที่ประสาน เชื่อมสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
หมวดที่ 4
การพ้นจากสมาชิกภาพ
ข้อ 15. เสียชีวิต
ข้อ 16. ลาออกโดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานชมรม และไม่มีภาระผูกพัน
ข้อ 17. คณะกรรมการลงมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ให้ออกเนื่องจาก
17.1 ประพฤติตนเป็นปรปักษ์ หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่ชมรม
17.2 ขาดประชุมเป็นนิจ ยกเว้น เจ็บป่วยเรื้อรังหรือทุพลภาพ
17.3 ไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมใดของชมรม
หมวดที่ 5
กรรมการและคณะกรรมการ
ข้อ 18. กรรมการมี 2 ประเภท คือ
18.1 กรรมการบริหารชมรม มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
18.2 กรรมการที่ปรึกษา
ข้อ 19. คณะกรรมการบริหารชมรม หมายถึง กรรมการ 2 ประเภท
19.1 ได้รับการเลือกจากสมาชิกชมรม รักษ์ ฯ สุขภาพบ้านบูเกะตา จำนวน 9 คนแต่ไม่เกิน 15 คน
19.2 ประกอบด้วย ประธานชมรม รองประธานชมรม เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ ทะเบียน เลขานุการ และกรรมการ
ข้อ 20. กรรมการที่ปรึกษา หมายถึง บุคคลที่ได้รับเชิญและแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาโดยมติของคณะกรรมการบริหารชมรมและได้ตอบรับแล้ว ให้อยู่ในวาระได้เท่ากับคณะกรรมการบริหารชมรม
ข้อ 21. การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการบริหารชมรมเมื่อ
21.1 ออกตามวาระ
21.2 เสียชีวิต หรือ ลาออก
21.3 ขาดจากสมาชิภาพ
21.4 คณะกรรมการมีมติให้ออก
ข้อ 22. คณะกรรมการบริหารชมรมประกอบด้วย
22.1 นายซาการียา บิณยูซูฟ ประธานคณะกรรมการ
22.2 นายการิม ดือราแม รองประธานคณะกรรมการ
22.3 นายสารัช พรหมนวล เลขานุการ/กรรมการ
22.4 นางจันจิรา อับดุลเลาะ ผู้ช่วยเลขนุการ/กรรมการ
22.5 นางสาววิลาสินี กล้าศึก เหรัญญิก/กรรมการ
22.6 นางมะลิวัล เอียดเต็ม ผู้ช่วยเหรัญญิก/กรรมการ
22.7 นางสาวศุลมาลิน บอซู ประชาสัมพันธ์/กรรมการ
22.8 นางมาลินี วุฒิศาสน์ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
22.9 นางสาลินี บิณยูซูฟ ทะเบียน/กรรมการ
22.10 นางสุดาวรรณ นุห์ ผู้ช่วยทะเบียน/กรรมการ
22.11. นางสาวฮาสานะห์ อาเดอนาน กรรมการ
22.12 นางสุดารัตน์ อาแวเตะ กรรมการ
22.13 นายมุสตอปา ยูโซ๊ะ กรรมการ
22.14 นายอุสมาน รอยะ กรรมการ
22.15. นางการีมะห์ ดือราแม กรรมการ
หมวดที่ 6
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
ข้อ 23. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินนโยบาย และบริหารกิจกรรมทั้งปวงของชมรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมติของที่ประชุมส่วนใหญ่
ข้อ 24. มีอำนาจกำหนดระเบียบต่างๆ เพื่อให้การบริหารงานของชมรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ข้อ 25. คณะกรรมการ มีอำนาจพิจารณาดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อประโยชน์นการดำเนินกิจกรรมของชมรม
ข้อ 26. ประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ตามที่ประธานมอบหมาย หากประธานไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานปฏิบัติหน้าที่แทนตามลำดับ
ข้อ 27. เลขานุการ มีหน้าที่จัดทำงานสารบรรณ งานประชุมและงานอื่นๆตามที่ประธานมอบหมาย
ข้อ 28. ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่ข่าว ประสานงานด้านข่าวสาร และชื่อเสียงของชมรมระหว่างสมาชิกตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับชมรม
ข้อ 29. เหรัญญิก มีหน้าที่รับ-จ่าย เก็บรักษาเงิน จัดทำหลักฐานบัญชีที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน แถลงฐานะการเงินในที่ประชุมประจำเดือน โดยมีเอกสารประกอบ
ข้อ 30. ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ช่วยงานประชาสัมพันธ์ เผยแพร่งานข่าวและประสานงานด้านข่าวสารและชื่อของชมรมระหว่างสมาชิกตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับชมรม
ข้อ 31. กรรมการ ตามข้อ 19.1 และข้อ 19.2 มีหน้าที่เข้าร่วมประชุม เสนอแนะ แสดงความคิดเห็นลงมติให้เกิดผลดีต่อชมรม และอื่นๆ ตามที่ประธานมอบหมาย
ข้อ 32. ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง และประชุมสมาชิกปกติ 6 เดือนต่อ 1 ครั้งหรือ คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น การประชุมใหญ่สามัญประจำปีให้มีระเบียบวาระการประชุมดังนี้
32.1 พิจารณารองรับรายงายการประชุมใหญ่ครั้งที่แล้ว
32.2 รายงานกิจการที่ดำเนินการมาแล้วในรอบหลายปี
32.3 แถลงงบดุล บัญชีรับ-จ่ายเงิน และพัสดุ
32.4 ปีที่ครบวาระของคณะกรรมการบริหารชมรม ให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชมรมใหม่ภายใน 15 วัน ก่อนครบกำหนดวาระ
32.5 ในการประชุมเลือกตั้งประธานกรรมการบริหารให้ที่ประชุมพิจารณาเลือกผู้อาวุโส
ที่เหมาะสมเป็นประธานชั่วคราว ดำเนินการเลือกตั้ง และต้องไม่เป็นผู้ถูกเสนอชื่อรับเลือกตั้ง
32.6 ติดตาม ประเมินผล สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการในการพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อการประกาศเป็นครอบครัวต้นแบบ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในแต่ละปี
32.7 เรื่องอื่นๆ
ข้อ 34. ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารชมรม 6 เดือนต่อ 1 ครั้ง ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของ จำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงถือว่า ครบองค์ประชุม หากการประชุมไม่ครบองค์ ประชุมดังกล่าวข้างต้น ให้ประธานคณะกรรมการชมรมนัดประชุมใหม่เป็นครั้งที่ 2 ภายใน 15 วัน หลังจากวันประชุมนั้น เมื่อสมาชิกเข้าประชุมครั้งที่ 2 มีจำนวนเท่าใด ก็ถือว่าครบองค์ประชุม การประชุมทุกครั้ง ให้ถือปฏิบัติตามหมวด 7 ข้อ 28 มาใช้ โดยอนุโลม
ข้อ 35. ให้ที่ประชุมถือเสียงข้างมากเป็นมติ หากคะแนนเท่ากันให้ประธานการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
หมวดที่ 7
การเงิน และพัสดุ
ข้อ 36. ชมรมมีรายได้ และทรัพย์สินจาก
36.1 มีผู้บริจาคให้ชมรม
36.2 เงินผลประโยชน์จาการฝากธนาคาร
36.3 รายได้จาการจัดกิจกรรม
36.4 เงินงบประมาณจากทางราชการจัดสรรให้ (ถ้ามี)
37.5 ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข (องค์กรสาธารณประโยชน์)
37.6 และอื่นๆ
ข้อ 37. เงินทุกประเภทของชมรมให้เก็บฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ตามที่คณะกรรมการบริหารชมรมเห็นสมควร
ข้อ 38. การรับ – จ่ายเงินทุกประเภท ให้ออกใบสำคัญและมีสำเนาไว้ เพื่อตรวจสอบการรับ-จ่ายเงินทุกครั้งต้องมีผู้เกี่ยวข้องลงชื่อผู้รับหรือผู้จ่ายเงินด้วยข้อ 39. การถอนเงินจากธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ต้องมีลายมือชื่อประธานกรรมการ หรือรองประธาน หรือเหรัญญิกหรือผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามร่วมกัน 2 ใน 3 จึงจะเบิกเงินได้
ข้อ 40. ประธานชมรม มีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารชมรมการจ่ายเงินแต่ละครั้ง ให้เหรัญญิกรายงาน ให้คณะกรรมการบริหารทราบ ในวันประชุม
ข้อ 41. เหรัญญิก หรือ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการเงินของชมรมมีอำนาจรักษาเงินสดได้ไม่เกิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ถ้าเกินต้องรีบนำฝากธนาคาร
ข้อ 42.ให้เหรัญญิกจัดทำเอกสารการเงินรับ-จ่าย ให้เป็นปัจจุบันและเก็บเอกสารต่างๆเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ
ข้อ 43. ให้คณะกรรมการบริหารชมรม แต่งตั้งคณะอนุกรรมการทำการตรวจสอบหลักฐานการเงิน การพัสดุโดยแต่งตั้งจากบุคคลที่มิใช่เป็นกรรมการบริหารชมรมหรือเจ้าหน้าที่ การเงิน ทำการ ตรวจสอบบัญชีการเงินต่างๆของชมรม
หมายเหตุ: การรับ – ส่งมอบงานทุกกรณีให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมแนบบัญชีหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องลงลายมือชื่อผู้มอบและผู้รับมอบต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันพ้นหน้าที่
หมวดที่ 8
การแก้ไขข้อบังคับ และการล้มเลิกชมรม
ข้อ 44 ข้อบังคับของชมรม จะแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารชมรมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เข้าประชุม
ข้อ 45. เมือแก้ไขข้อบังคับแล้ว ต้องแจ้งให้สมาชิกทราบทั่วกัน
ข้อ 46. การล้มเลิกชมรม จะทำโดยมติของที่ประชุมใหญ่ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของผู้เข้าร่วมประชุมข้อ 47. เมื่อล้มเลิกชมรมแล้ว เงินและทรัพย์สินที่เหลืออยู่ภายหลังจากการชำระบัญชีแล้ว ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข
หมวดที่ 9
บทเฉพาะกาล
ข้อ 48. ให้คณะกรรมการชุดปัจจุบัน ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการบริหารต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่
ประกาศ ณ วันที่ 3 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ซาการียา บิณยูซูฟ
(ซาการียา บิณยูซูฟ)
ประธานชมรมรักษ์สุขภาพบ้านบูเกะตา
มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข